สารแพคโคลบิวทราโซล ทำหน้าที่ไปชะลอและยับยั้งการสร้างฮอร์โมนพืชที่มีชื่อว่า จิบเบอเรลลิน ที่ยอดและใบของทุเรียน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าสารแพคโคลบิวทราโซลไปกีดขวางการสร้างฮอร์โมนจิบเบอเรลลินในต้นทุเรียน ส่งผลให้ต้นทุเรียนถูกกระตุ้นและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทำให้ต้นทุเรียนไม่มีการผลิยอดอ่อนหรือใบใหม่ ต้นทุเรียนจะอยู่ในสภาพคงใบแก่ อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
ประจวบกับต้นทุเรียน ได้ผ่านขบวนการสะสมอาหารมาเป็นอย่างดีและเป็นระยะเวลานานพอสมควร บวกกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คือ มีความชื้นในดินน้อยหรือฝนทิ้งช่วงที่เรียกว่ากระทบแล้งประมาณ 7-10 วัน ต้นทุเรียนจะแตกตาดอกทันที
👉ระยะที่เหมาะสมสำหรับการฉีดพ่นสารแพคโคลบิวทราโซล
ใช้ความพร้อมการพัฒนาใบเป็นเกณฑ์ เมื่อพบว่าต้นทุเรียนได้สร้างใบชุดแรกและใบชุดที่ 2 อยู่ในระยะการเจริญเติบโตที่เรียกว่า ใบเพสลาด พร้อมกันทั้งสวน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15-20 วันหลังผลิใบอ่อน
กรณีที่ระยะการเจริญเติบโตของใบไม่สม่ำเสมอให้ถือระยะใบส่วนใหญ่เป็นใบเพสลาด (มากกว่าร้อยละ 70 ขึ้นไป) ถือได้ว่าระยะนี้คือระยะที่เหมาะสมสำหรับการฉีดพ่นสารพาโคลบิวทราโซลให้กับต้นทุเรียนถ้าหากส่วนใหญ่ต้นทุเรียนมีระยะใบเพสลาดต่ำกว่าร้อยละ 70 ต้องรอให้ผลีใบใหม่อีกหนึ่งชุด โดยการกลับไปขั้นตอนการบำรุงรักษาต้นและใบใหม่อีกครั้ง
👉วิธีการฉีดพ่นสารแพคโคลบิวทราโซล
1.
จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในการฉีดพ่น พร้อมถังน้ำ น้ำสะอาด และสารแพคโคลบิวทราโซลไว้ให้พร้อม
2. ตวงสารแพคโคลบิวทราโซล (สารชนิดเข้มข้น 10% อัตรา 200-300 กรัมหรือชนิด 15% อัตรา 130-200 กรัม หรือชนิด 25% อัตรา 80-120 กรัม) ต่อน้ำสะอาด 20 ลิตร พร้อมทั้งผสมสารจับใบ แล้วคนให้ละลายเข้ากัน
3. ฉีดพ่นที่ต้นทุเรียน 1 ต้น โดยเน้นเป้าหมายการฉีดพ่นไปที่ใบเพสลาด รวมทั้งกิ่งอ่อนๆ ให้ได้รับสารและดูดซึมสารให้มากที่สุด ก่อนที่ฝนจะตกลงมาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
👉เทคนิคและวิธีการฉีดพ่นสารแพคโคลบิวทราโซล
ใช้สารแพคโคลบิวทราโซลความเข้มข้น 1,000-1,500 ppm (สารชนิด 10% 200-300 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือชนิด 150 อัตรา 130-200 กรัมหรือชนิด 25% อัตรา 80-120 กรัม/น้ำ 20 ลิตร) ฉีดพ่นต้นทุเรียนที่ผ่านการเตรียมความพร้อมมาแล้ว ถ้าต้นมีความสมบูรณ์มาก ซึ่งสังเกตได้จากใบแก่มีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้มเป็นมัน มีการแตกใบอ่อนมากหลายชั้นใบในช่วงที่ผ่านมา และความยาวข้อระหว่างใบแต่ละชั้นมาก ให้ฉีดพ่นด้วยความเข้มข้นสูงขึ้น
ในการฉีดพ่นต้องผสมสารจับใบทุกครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมสารแพคโคลบิวทราโซลของพืชได้ดียิ่งขึ้น
👉ในการฉีดพ่นสารแพคโคลบิวทราโซลให้สัมฤทธิ์ผล
ควรคำนึงถึงเทคนิคปฏิบัติ ดังนี้
1. ฉีดพ่นให้ถูกกิ่งอ่อนมากที่สุด กิ่งอ่อนเป็นตำแหน่งที่สารแพคโคลบิวทราโซลจะเข้าสู่พืชได้ดีและสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายไปสะสมและทำปฏิกิริยาในเนื้อเยื่อเจริญ
เช่น ตาใบ ยอดอ่อน
2. การฉีดพ่นต้องพิถีพิถัน ในการฉีดพ่นต้องปรับหัวฉีดให้เป็นฝอย
ฉีดพ่นทั้งภายนอกและภายในทรงพุ่มให้พอเปียกแต่สม่ำเสมอจึงจะได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประหยัด
การฉีดพ่นทำได้ทั้งวันหากต้นพร้อม แต่ถ้ามีฝนตกชุกและจำเป็นต้องฉีดพ่นสาร
ต้องฉีดพ่นให้เสร็จ และมีช่วงเวลาให้สารสามารถเข้าสู่ต้นได้อย่างน้อย 1
ชั่วโมงก่อนฝนตก
3. การฉีดพ่นสารซ้ำ หลังจากฉีดพ่นครั้งแรกแล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์ ให้ทำการตรวจดูต้นทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าต้นทุเรียนยังคงแสดงอาการแตกใบอ่อนอาจเนื่องจากการเลือกใช้ความเข้มข้นของสารไม่เหมาะสมกับสภาพความสมบูรณ์ของต้น หรือการฉีดพ่นไม่ทั่วถึง ต้องฉีดพ่นสารซ้ำอีกครั้งหนึ่งทันที โดยใช้ความเข้มข้นครึ่งหนึ่งของการฉีดพ่นครั้งแรก (ใช้ความเข้มข้น 500-700 ppm) (สารชนิด 10% อัตรา 100-150 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือสารชนิด 159 อัตรา 75-100 กรัม หรือชนิด 25% อัตรา 40-60 กรัม/น้ำ 20 ลิตร)
👉ข้อมูลสภาพอากาศที่ควรเลือกปฏิบัติการฉีดพ่นสารแพคโคลบิวทราโซล
สภาพอากาศในวันฉีดพ่นสารแพคโคลบิวทราโซลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตทุเรียนนอกฤดู ก่อนลงมือปฏิบัติชาวสวนควรจะศึกษาข้อมูลสภาพอากาศประจำสัปดาห์ที่เผยแพร่ข่าวสารทางวิทยุ โทรทัศน์เพื่อให้การฉีดพ่นสารแพคโคลบิวทราโซลได้ผลเต็ม 100% ก่อนฉีดพ่น ระยะ 1-2 วัน ฝนควรหยุดตก ท้องฟ้าแจ่มใส แสงแดดดี ลมสงบ และตอนบ่ายมีแสงแดดอ่อนๆ เมฆมีน้อยและกระจายอยู่ทั่วไป ถ้าอากาศเป็นลักษณะนี้ ควรลงมือปฏิบัติการฉีดพ่นสารแพคโคลบิวทราโซลทันที ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมงหลังฉีดพ่นฝนไม่ควรตกลงมา
แต่ถ้าเกิดมีฝนตกลงมาภายในระยะ 2
ชั่วโมงหลังฉีดพ่นสาร ทางแก้ไขต้องฉีดพ่นสารแพคโคลบิวทราโซลซ้ำอีกครั้งหนึ่งในวันรุ่งขึ้นอัตราส่วนผสมของสารเท่ากับครั้งแรก
ที่มา : บันได 6 ขั้น
สู่การผลิตทุเรียนนอกฤดูอย่างมืออาชีพ