Durain

[ทุเรียนเงินล้าน][bsummary]

Date Palm

[อินทผลัม][twocolumns]

Cactus

[แคคตัส][bleft]

Adenium

[ชวนชม][bsummary]

Garden

[จัดสวน][bsummary]

ทำความรู้จักชวนชมพันธุ์ยักษ์ 4 กลุ่ม ในประเทศไทย

ความหลากหลายของสายพันธุ์ชวนชม เป็นหนึ่งในมนตร์เสน่ห์ที่ตรึง “นักเล่น” หน้าเก่า และดึงดูด “นักเล่นหน้าใหม่” ให้เข้ามาสนในชวนชม

แต่ถ้าถามว่าชวนชมกลุ่มไหน ตรึงและดึงดูดนักเล่นได้มากที่สุด คงต้องบอกว่า ชวนชม 4 กลุ่ม 4 ตระกูลนี้ ที่ “เว็บไซต์ต้นไม้และสวน” จะทำเสนอต่อไปนี้ “ทรงพลัง” มากที่สุด เพราะด้วยความโดดเด่นด้านความหลากหลาย ดอก และรูปทรง

1. ไทยโซโคทรานั่ม (Thai Socotranum) เป็นยักษ์อาหรับ (Arabicum) หรือยักษ์ซาอุสายพันธุ์หนึ่ง มีเอกลักษณ์พิเศษกว่ายักษ์ซาอุทั่ว ๆ ไป จัดเป็นยักษ์ซาอุเตี้ย ราก ลำต้น กิ่งก้านสาขาแผ่ขยายสวยงามคล้ายบอนไซ ไม่ใช่โซโคทรานั่มแท้ (Real Socotranum) ซึ่งมีแหล่งที่มาจากเกาะโซโคต้าประเทศเยเมน

สำหรับประเทศไทยมีผู้ไปทำงานที่ประเทศซาอุดิอาราเบีย นำกิ่งปักชำมาปลูกไว้ที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “เพชรบ้านนา” ภายหลังมีการคัดเลือกกิ่งเพชรบ้านนาที่ให้กำเนิดอภิชาติบุตร ตั้งชื่อใหม่ว่า “มงกุฎสยาม” (Siam Crown) นอกจากนั้นยังมีผู้นำเข้าต้นกล้าจากประเทศซาอุดิอาราเบีย มาปลูกและเพาะเลี้ยงที่ ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นที่มาของ “ยักษ์หนองแหน (ดำริสิทธิโชค)” ต่อมาภายหลังมีผู้นำลูกไม้ของยักษ์หนองแหนไปปลูกที่ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา จึงเป็นที่มาของชื่อ “บางคล้า” (Bang-Khla)
ชวนชมพันธุ์บางคล้า
 “เพชรบ้านนา” ภายหลังมีการคัดเลือกกิ่งเพชรบ้านนาที่ให้กำเนิดอภิชาติบุตร ตั้งชื่อใหม่ว่า “มงกุฎสยาม” 
ตามธรรมชาติชวนชมชนิดนี้ติดฝักค่อนข้างยาก แต่ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีความนิ่งของสายพันธุ์สูงและมักไม่กลายพันธุ์ จัดเป็นชวนชมสายพันธุ์ที่มีน้อยที่สุดและหาได้ยากมากที่สุดในโลกนี้ ดังนั้นทั้งเมล็ด ต้นกล้า ต้นขนาดเล็กและขนาดใหญ่ จึงมีราคาแพงกว่าชวนชมสายพันธุ์อื่น

ปัจจุบันได้มีการนำเทคนิคการผสมเกสรด้วยมือ ทำให้ชวนชมสายพันธุ์นี้สามารถผลิตเมล็ดได้จำนวนมาก และได้ก้าวเข้าสู่การเป็นไม้เศรษฐกิจอย่างเต็มตัว 
ความดกของดอกชวนชมราชินีพันดอก
2. ราชินีพันดอก (Arabicum : Ra-Chi-Nee-Pan-Dok) / RCN  มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบคาบสมุทรอาหรับ จัดเป็นยักษ์อาหรับ (Arabicum) ชนิดหนึ่ง  มีการนำเข้าราชินีพันดอกจากประเทศแถบอาหรับ  โดยการนำกิ่งจากต้นแม่  มาปักชำและเพาะเลี้ยงในประเทศไทย

ราชินีพันดอก มีลักษณะดังนี้
  • ดอกดกมาก  ดอกมีขนาดเล็กสีชมพูอ่อน  เวลาออกดอกมักออกดอกพร้อมกันทั้งต้นและมักทิ้งใบ แลดูทั้งต้นมีแต่ดอกสวยงามมาก  จนได้สมญานามว่า "ราชินีพันดอก"
  • ใบเล็ก  ใบสีเขียวสด  ขอบใบบางครั้งมีสีเหลือง แซมจนบางครั้งดูคล้ายใบด่างสีทอง ใบมันไม่มีขนทั้งหน้าใบและหลังใบ
  • เป็นไม้ขนาดกลาง มีทรงพุ่มที่สวยงาม ไม่สูงมากนัก มีกิ่งแขนงจำนวนมากแตกออกจากลำต้น
  • ตามธรรมชาติให้ฝักพอประมาณ  ฝักและเมล็ดมีขนาดเล็ก กว่าพืชในตระกูลยักษ์อาหรับ (Arabicum) ด้วยกัน
  • ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีลักษณะที่ดี  และมีความหลากหลาย
  • กิ่งตอนหรือกิ่งปักชำราชินีพันดอก  มักมีลำต้นและทรงพุ่มที่สวยงาม
  • ไม้เสียบยอดราชินีพันดอก  มักมีทรงพุ่มและดอกที่สวยงาม
ราชินีพันดอกเสียบยอด
ปัจจุบันราชินีพันดอก  จัดเป็นไม้ยอดนิยมชนิดหนึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดและในหมู่นักเพาะเลี้ยงทั้งในและต่างประเทศ  มีการนำเมล็ดราชินีพันดอกมาเพาะเลี้ยงกันเป็นจำนวนมาก  ลูกไม้ที่ได้จากการเพาะเมล็ดของราชินีพันดอกมีความหลากหลายมาก  จนบางครั้งได้เป็น ราชินีพันดอกใบขน  ราชินีพันดอกแคระ  ราชินีพันดอกที่มีลักษณะคล้ายยักษ์อาหรับอื่นๆ เป็นต้น      

จากประสบการณ์ของไพสิฐฟาร์ม สันนิฐานว่า ราชินีพันดอก เป็นลูกผสมระหว่างยักษ์ญี่ปุ่นกับยักษ์ซาอุ เนื่องจากในการเพาะเมล็ดราชินีพันดอก บางครั้งกลายเป็นยักษ์ญี่ปุ่นทั้งหมด บางครั้งมีทั้งยักษ์ญี่ปุ่น มีทั้งยักษ์ซาอุ มีทั้งราชินีพันดอก ในกระบะเพาะเดียวกัน ลูกไม้ราชินีพันดอกที่ได้จากการเพาะเมล็ดจึงไม่มีความนิ่งของสายพันธุ์ มีความหลากหลาย 
ราชินีพันดอกกิ่งตอน
3. ยักษ์ซาอุหรือยักษ์อาหรับ (Arabicum : Yak-Saudi) มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบคาบสมุทรอาหรับ  ทางตอนใต้และตะวันตกของคาบสมุทรอาหรับ  ลำต้นสูงใหญ่  ส่วนใหญ่ใบมักมีขนละเอียดนุ่ม  ดอกมักมีสีชมพูและมีขนาดเล็ก  ออกดอกตามกิ่งก้านหรือลำต้น ฝักมักมีสีแดงเข้ม  ฝักและเมล็ดมักมีขนาดใหญ่  ชวนชมชนิดนี้สามารถแบ่งลักษณะลำต้นออกเป็น  2  ลักษณะดังนี้

  • ลำต้นสูงแบบไม้ยืนต้น จะมีลำต้นที่สูงชะลูด ลำต้นจะแตกออกจากฐานโขดหลายลำ ลำต้นชี้ขึ้นตรงมักเจริญติบโตในแนวสูงมากกว่าการขยายในแนวราบ อาจสูงได้ถึง 4 เมตร ที่พบเห็นในประเทศไทยเช่น ยักษ์หน้าวัง เป็นต้น
  • ลำต้นเตี้ย ลำต้นจะขึ้นเป็นแท่งหลายแท่งจากฐานโขด มักเจริญเติบโตในแนวราบ มากกว่าแนวสูง
ชวนชมยักษ์ซาอุ
ชวนชมยักษ์ซาอุลูกผสม
4. ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่น (Somalense var. Somalense) มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกา พบที่แทนซาเนียโซมาเลีย เคนย่า เป็นชวนชมยักษ์ชนิดหนึ่ง มีลำต้นตรงใหญ่ สูงชะลูด แตกกิ่งด้านข้างน้อย ใบเรียวแคบ ใบไม่มีขน ใบสีเขียวสดใส เห็นเส้นใบขาวเด่นชัด  ดอกมีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ดอกสีชมพู หรือแดง  กรวยดอกมีเส้นสีเหลืองชัดเจน 15-25 เส้น เป็นไม้ที่ออกดอกดกมาก  จะทิ้งใบหมดหากกระทบแล้ง และออกดอกตามลำต้นและกิ่ง  เคยมีผู้พบเห็น ในท้องถิ่นเดิมของแอฟริกา รายงานว่าสูงกว่า 5 เมตร มีโคนใหญ่กว่าถัง 200 ลิตร 
ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่น ต้นขนาดใหญ่
ปัจจุบันชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ หลายกลุ่มตามลักษณะเด่นประจำพันธุ์ เช่น ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นแคระ (Somalense var. Crispum), ยักษ์ญี่ปุ่นลูกผสม (Somalense Hybrid), ยักษ์ญี่ปุ่นใบเงิน, ยักษ์ญี่ปุ่นใบด่าง, ยักษ์ญี่ปุ่นกิ่งแดง, ยักษ์ญี่ปุ่นกำแพง, ยักษ์ญี่ปุ่นใบมัน, ยักษ์ญี่ปุ่นใบเล็ก และ ยักษ์ญี่ปุ่นดอกขาว แต่อย่างไรก็ตามชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นก็ยังมีเสน่ห์สุดๆ ในสายตาคนรักชวนชมเสม อ่านเรื่องราวของยักษ์ญี่ปุ่นเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tonmailaesuan.com/2018/05/blog-post_22.html

ขอบคุณข้อมูลจาก : ไพสิฐฟาร์ม

สนใจชวนชมยักษ์และสายพันธุ์อื่นๆ ที่สวยงามในราคาย่อมเยาได้ที่
คุณศักดิ์ชัย วิริยะไพสิฐ เจ้าของ ไพสิฐฟาร์ม 93 หมู่ 6 ต.วัดเพลง อ.วัดเพลง จ.ราชบุรี 70170โทร. 08-6769-0134, 032-399-293
เยี่ยมชมเว็บไซต์ ไพสิฐฟาร์ม : www.thailandadenium.com