Durain

[ทุเรียนเงินล้าน][bsummary]

Date Palm

[อินทผลัม][twocolumns]

Cactus

[แคคตัส][bleft]

Adenium

[ชวนชม][bsummary]

Garden

[จัดสวน][bsummary]

โรคใบจุด ใบไหม้ (แอนแทรคโนส) ในทุเรียน วิธีป้องกันและกำจัด

โรคใบจุด ใบไหม้ หรือโรคแอนแทรคโนส  (Leaf Spot/Leaf Blight/Anthracnose)


👉 สาเหตุเกิดจาก เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เป็นโรคที่เกิดในช่วงใบอ่อนหรือช่วงที่พืชอ่อนแอ เช่น ในสภาพที่พืชขาดน้ำในฤดูแล้ง โดยเฉพาะในช่วงติดผลของทุเรียน

 

👉 ลักษณะอาการ เกิดจุดแผลสีน้ำตาลบนใบ หากรุนแรงแผลจะขยายทำให้ใบไหม้เป็นสีน้ำตาล ส่วนใหญ่เกิดบริเวณขอบใบหรือกลางใบ บริเวณเนื้อใบที่ไหม้จะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณแผลพบส่วนของเชื้อราเป็นจุดสีดำ

ขนาดเล็กเรียงเป็นวงซ้อนกัน ใบที่ไหม้จะยังคงติดอยู่กับกิ่งไม่ร่วงหล่นง่าย การเกิดโรคจะกระจายไปทั่วทั้งต้น

อาการแผลไหม้สีน้ำตาลบนใบ ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้มบริเวณแผลพบส่วนของเชื้อราเป็นจุดสีดำขนาดเล็กเรียงเป็นวงซ้อนกัน

โรคนี้ต่างจากโรคใบติดที่เกิดเป็นหย่อมๆ ต้นที่เป็นโรครุนแรง มีใบที่เป็นโรคจำนวนมาก จะเป็นแหล่งสะสมเชื้อสาเหตุโรค เชื้ออาจจะติดไปยังผลของทุเรียน ทำให้เกิดโรคผลเน่าหลังการเก็บเกี่ยว ในระยะต้นกล้าหรือต้นที่เจริญเติบโตยังไม่เต็มที่จะทำให้การเจริญโตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต หากอาการรุนแรงจะทำให้กิ่งแห้ง หรือต้นตาย

 

👉 การแพร่ระบาด เชื้อราสาเหตุโรคแพร่ระบาดไปตามลม ติดไปกับน้ำ เข้าทาลายพืชเมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม โรคนี้พบได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง แต่จะเห็นอาการชัดเจนในฤดูแล้ง ซึ่งเป็นระยะที่ทุเรียนกาลังออกดอก ติดผล

 

อาการแผลไหม้ที่ปลายใบ และจุดแผลบริเวณขอบใบ

ต้นกล้าทุเรียน มีอาการแผลไหม้สีน้ำตาลที่ปลายใบ และขอบใบเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และ Phomopsis durionis

👉 การป้องกันกำจัด

  • 1. ให้น้ำ และธาตุอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป
  • 2. กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี เป็นการลดความชื้นสะสม
  • 3. แหล่งที่พบการระบาดของโรคเป็นประจำ ในระยะที่ทุเรียนแตกใบอ่อนและมีการเจริญเติบโตทางใบควรป้องกันกำจัดโรค โดยพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น อะซอกซีสโตรบิน (azoxystrobin) 25% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ (mancozeb) 80% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรคลอราซ (prochloraz) 45% EC อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ20 ลิตร หรือ เบโนมิล (benomyl) 50% WP อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้น ทุก 7-10 วัน จำนวน 1-2 ครั้ง
  • 4. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบเริ่มมีอาการของโรค ตัดใบ หรือส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลง เพื่อลดปริมาณและไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค หากโรคยังคงระบาดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ตามข้อ 3 โดยพ่นทุก 7-10 วัน หรือตามคำแนะนำในร่างฉลาก

.

ที่มา : เอกสารวิชาการโรคทุเรียน กรมวิชาการเกษตร