Durain

[ทุเรียนเงินล้าน][bsummary]

Date Palm

[อินทผลัม][twocolumns]

Cactus

[แคคตัส][bleft]

Adenium

[ชวนชม][bsummary]

Garden

[จัดสวน][bsummary]

อินทผลัม สวนตาลคู่ ของ อำนาจ ผการัตน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี

สวนตาลคู่ คือ สวนอินทผลัม ใหญ่ที่สุดใน จ.อุดรธานี  ตั้งอยู่ในบ้านนาหวาน ต.หนองนาคำ อ.เมือง จ.อุดรธานี ส่วนใหญ่เป็นต้นพันธุ์เนื้อเยื่อพันธุ์  บาฮี” โดยมี นายอำนาจ ผการัตน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี และทีมงานกำลังเร่งผสมเกสร ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายของปีนี้ 

โดยมีนักธุรกิจจาก สปป.ลาว เดินทางมาศึกษาวิธีการผสมเกสรอย่างใกล้ชิด หลังจากต้นอินทผลัมปลูกไว้ บางต้นเริ่มแทงจั่นออกดอกแล้ว โดยต้นที่ได้รับการผสมจะเป็นต้นตัวเมีย ถูกตัดแต่งหนามที่ก้านใบ และกาบห่อจั่นออกหมด ให้เหลือเฉพาะตัวช่อเกสร คนงานจะใช้บันไดพาดไต่ขึ้นไปบนต้นเหนือช่อเกสร โดยสวมหมวกกันน็อค ป้องกันหนามแหลมที่เหลืออยู่แทง ใช้มือขยายก้านช่อเกสรออก ก่อนใช้อุปกรณ์ผสมเกสร ดัดแปลงใช้ขวดน้ำอัดลม ตัดก้นขวดออกสวมคลุมเกสร แล้วพ่นเกสรตัวผู้ลงมาจากปากขวด ป้องกันไม้ให้เกสรตัวผู้ปลิวออก แล้วใช้ถุงกระดาษคลุม เขียนวันที่ผสมไว้ก้านใบใกล้กับช่อที่ผสมแล้ว
เจ้าของสวนตาลคู่ กล่าวว่า อุปกรณ์ต่างๆ มีการพัฒนา หรือดัดแปลงให้เหมาะสมขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่การใช้เครื่องดูดเก็บเกสรตัวผู้ เอาไปเก็บไว้ในตู้เย็น เตรียมเอามาผสม ส่วนเครื่องมือผสมมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งสั่งซื้อแบบมาตรฐาน หรือการนำมาดัดแปลงเพิ่มเติม เช่น การใช้ขวดพลาสติกครอบช่อดอก เพื่อไม่ให้เกสรพลิวออก เมื่อมีลมพัดแรงกว่าปกติ และทำขึ้นมาเฉพาะกิจ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ช่วงเวลาก็ทำตอนเช้า-เที่ยง

นอกจากนี้ยังมีการปรับแต่งวิธีใช้น้ำ-ใส่ปุ๋ย จากเดิมไปบ้างพอสมควร ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว โดยได้ติดป้ายสีวันเวลาผสมเกสร เพื่อสะดวกในการเลือกตัดผลผลิตให้ได้เกรดที่ดีที่สุด เมื่อมีคำสั่งซื้อออกมาแต่ละวัน , การปรับระดับพื้นดินใต้ต้นระยะทรงพุ่ม เพื่อให้การใช้น้ำทั่วถึงทั้งหมด ซึ่งหากไม่ทั่วถึงจะทำให้ผลผลิตเสียหาย รวมไปถึงเป็นแนวใส่ปุ๋ยด้วย ตั้งแต่เริ่มผสมเกสรประเมินว่าจะเก็บผลผลิตได้ปลายเดือนมิถุนายน-ต้นเดือนกรกฎาคมปีนี้ เริ่มจัดจำหน่ายได้ทันที
เจ้าของสวนตาลคู่ กล่าวอีกว่า อินทผลัมที่นี่เริ่มออกจั่นมาตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม เมื่อผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์ จั่นก็จะเริ่มแตกออก เราจะต้องผสมเกสรไม่เกิน 3 วัน ใช้ถุงกระดาษคลุมไว้ รอจนจั่นติดลูก ก็จะทำการปลิดลูกทิ้ง ลักษณะเว้น 2 ลูก เหลือ 1 ลูก เพื่อให้ลูกมีขนาดใหญ่กว่า จากนั้นก็ต้องเปลี่ยนกระดาษคลุม เพื่อป้องกันสัตว์มาทำลายผลผลิต การผูกเชือกช่วยพยุงจั่นช่วยรับน้ำหนัก จนกว่าจะมีการเก็บเกี่ยวเมื่ออายุได้ 150 วัน คือห้วงระยะเวลาที่สำคัญในการดูแลอินทผลัมตลอดช่วงนี้