Durain

[ทุเรียนเงินล้าน][bsummary]

Date Palm

[อินทผลัม][twocolumns]

Cactus

[แคคตัส][bleft]

Adenium

[ชวนชม][bsummary]

Garden

[จัดสวน][bsummary]

ไข 5 ปัญหา อินทผลัมเพาะเนื้อเยื่อ คำตอบที่คนปลูกอินทผลัมควรรู้

อินทผลัม ชนิดทานผลสด เป็นผลไม้ที่ถูก “โฟกัส” มากที่สุดในยุคนี้ ในฐานะผลไม้ที่อุดมไปด้วยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์สูง สอดรับกับเทรนด์ “อาหารเพื่อสุขภาพ”

ถูกโฟกัสในแง่ของ “พืชเศรษฐกิจ” ตัวใหม่มูลค่าสูง ค่อนข้างจะมีอนาคตเมื่อเทียบกับพืชตัวอื่นที่อยู่ในช่วงดาวน์ อินทผลัมจึงมีคนสนใจปลูกจำนวนมาก ทั้งปลูกไว้ทานเอง และปลูกเพื่อการค้า

ด้วยเพราะมันเป็นพืชตัวใหม่ มาจากต่างถิ่น แถมคนปลูกเองก็ยังเป็น “มือใหม่” แน่นอนว่าย่อมจะเกิดปัญหาในการปลูกเลี้ยงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพศ เรื่องสายพันธุ์ การปลูกเลี้ยง การผสมเกสร การบำรุงให้รสชาติดี ผลผลิตสูง เป็นต้น

แต่คำถามที่ถูกถามมากที่สุดในปีสองปีที่ผ่านมา คือ ควรจะปลูกเพาะเมล็ด หรือ ต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ...? แบบไหนคุ้มค่ามากกว่า

ทีมงานต้นไม้และสวน มีโอกาสพูดคุยกับ คุณวิทยา ช่ำชอง จาก “สวน I date palm ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ และยังเป็นผู้นำเข้าต้นกล้าอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อรายใหญ่  ข้อมูลที่เราได้มาล้วนเป็นประโยชน์สำหรับคนที่คิดจะปลูกอินทผลัมอย่างยิ่ง 
อินทผลัมพันธุ์ บาร์ฮี เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยม รสชาติดี ผลผลิตสูง

1. ทำไมอินทผลัมถึงน่าสนใจ
━━━━━━━━━━━
หลายคนหันมาสนใจปลูกอินทผลัมเพราะราคาขายผลผลิตน่าจูงใจสุดๆ เพราะตอนนี้ราคา 500 – 600 บาท/กก. แต่สำหรับสวน I date palm จุดแข็งของอินทผลัมไม่ได้อยู่ที่ราคาขายแพงลิบลิ่ว หากแต่ว่าอยู่ที่การให้ผลผลิตปริมาณมาก ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ

ยกตัวอย่างเช่น สายพันธุ์บาฮี ต้นโตเต็มวัยหรืออายุประมาณ 5 ปี หากมีการดูแลอย่างดีสามารถออกผลผลิตเต็มที่ 200-250 กก./ต้น/ปี แต่มือใหม่หรือเราดูแลแบบบ้านๆ ตีว่าได้ 100 กก./ต้น/ปี ถ้า 1 ไร่ ปลูก 30 ต้น ขายได้ กิโลกรัมละ 500 บาท จะมีรายได้มีรายได้ 1,500,000 บาท/ไร่/ปี แต่ถ้าสมมุติเวลาผ่านไปสัก 20 ปี ราคาหล่นมาเหลือ กก. ละ 50 บาท ก็ยังมีรายได้ 150,000 บาท/ไร่/ปี

นี่คือสิ่งที่ วิทยา ช่ำชอง อยากบอกกับคนที่กำลังสนใจปลูกอินทผลัมเพื่อการค้าว่าจุดเด่นของอินทผลัมจริงๆ ก็คือปริมาณผลผลิต/ต้นสูงและให้ผลผลิตได้ต่อเนื่องนั่นเอง

อีกส่วนที่สำคัญก็คือการบริหารจัดการง่าย การดูแลรักษาง่ายกว่าสวนผลไม้หลายๆ ชนิด การปลูก 10 ไร่ใช้คนดูแลประจำประมาณ 2-3 คน และตอนใส่ปุ๋ยฉีดยาค่อยจ้างแรงงานเสริม โรคและศัตรูพืชน้อย ทนต่อภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น น้ำท่วม (ถ้าน้ำท่วมแบบปี 54 ต้นอายุ 5 ปีไปแล้วไม่ตาย) ทนพายุลมแรง และภัยแล้ง (พายุทะเลทรายยังทนได้ ฝนแล้งบ้านเรากับพายุบ้านเราต้นอินทผลัมรับไหวอยู่แล้ว) 
2. ทำไมต้องปลูกอินทผลัมเพาะเนื้อเยื่อ 
━━━━━━━━━━━
อินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นต้นตัวเมียคุณภาพดีเหมือนกันทุกต้น ออกลูกมารสชาติหวานอร่อยเหมือนกันทุกต้นทั้งสวน เป็นที่ต้องการของห้างใหญ่ๆ และผู้ส่งออก

ปลูกอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีหน่อออกมาต้นละ 10-20 หน่อก็เป็นต้นตัวเมียคุณภาพดีลูกมารสชาติหวานอร่อยเหมือนต้นแม่ทุกต้น จึงมีราคาเฉลี่ยถึงหน่อละ 3,000 บาท มากกว่าราคาของต้นกล้าเพาะเนื้อเยื่อถึง 2 เท่า ซึ่งจะได้ทุนคืนและกำไรจากหน่อก่อนต้นออกผลผลิตเสียอีก 

ปลูกอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เสียเวลา (3-4 ปี) ไม่เสียโอกาส ไม่เสียพื้นที่ในการปลูก กับต้นตัวผู้ที่ไม่ออกลูก และต้นตัวเมียที่ให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ รวมทั้งคุ้มค่าต่อการลงทุน ด้วยเหตุนี้ชาวสวนอินทผลัมในตะวันออกกลางที่ปลูกมาก่อนหน้าประเทศไทยมาเป็นร้อยปีจึงมีแต่การปลูกอินทผลัมแบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และแบบหน่อเท่านั้น ไม่มีการปลูกแบบเพาะเมล็ดในเชิงพานิช
ต้นกล้าอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากแล็บ UAE
3. ต้นกล้าที่มาจากแล็บ DPD ของประเทศอังกฤษต่างจากต้นกล้าที่มาจากประเทศ UAE อย่างไร
━━━━━━━━━━━
เหตุผลคือ แล็บ DPD อังกฤษใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแบบ Embryogenesis สามารถผลิตต้นกล้าได้จำนวนมาก ใช้เวลาน้อยกว่า ต้นทุนถูกกว่า แต่เทคโนโลยีนี้เมื่อเวลาผ่านไปมากกว่า 10 ปี จะพบว่า มีลักษณะสีขนาด หรือรสชาติ แตกต่างไปจากต้นแม่บ้างประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ จึงถือว่ามีความเสถียรของต้นพันธุ์น้อยกว่า

ส่วนแล็บที่ UAE ใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแบบ organogenesis มีอัตราการกลายพันธุ์น้อยมาก มีความเสถียรของต้นพันธุ์มากกว่าแบบ embryogenesis แต่จะให้ปริมาณต้นกล้าน้อยกว่า ใช้เวลามากกว่า ต้นทุนจึงแพงกว่า 
เกสรต้น Ghannami (ภาพจากต่างประเทศ)
ต้นกล้า Ghannami พ่อพันธุ์ (Ghannami Green และ Ghannami Red)
4. เกสรจากต้น Ghannami พ่อพันธุ์ เหมือนหรือต่างจากเกสรจากต้นตัวผู้ที่ได้จากการเพาะเมล็ด  
━━━━━━━━━━━
เราสามารถใช้เกสรตัวผู้ของต้นเพาะเม็ดและพืชตระกูลปาล์มอื่นๆ มาผสมกับตันอินทผลัมตัวเมียก็สามารถทำให้อินทผลัมตัวเมียติดผลได้เหมือนกัน แต่ Ghannami เป็นพ่อพันธุ์ที่แลปคัดเลือกมาจากต้นตัวผู้กว่า 200 สายพันธุ์แล้วว่าสายพันธุ์นี้ออกเกสรตอนต้นฤดู อัตราการติดผลสูง ทำให้ขนาดและคุณภาพของผลอินทผลัมออกมาขนาดใหญ่ขึ้นและรสชาติหวานอร่อยขึ้น

ที่สำคัญให้ปริมาณเกสรจำนวนมากกว่าต้นเพาะเม็ดทั่วไป 3-5 เท่าตัว เมื่อมี ปริมาณเกสรมากก็ไม่จำเป็นต้องปลูกต้นตัวผู้จำนวนมากต้นทุนการปลูกและดูแลรักษาต้นตัวผู้น้อยลงแต่ได้ผลผลิตเกสรมาก เช่น ปกติปลูกอินทผลัม 100 ต้น ต้องใช้ต้นตัวผู้ต่อตัวเมีย 30 : 70 ต้น แต่ถ้าใช้สายพันธุ์  Ghannami ใช้ต้นตัวผู้ต่อต้นตัวเมีย เพียงแค่ 9-10 : 90-120 ต้น เท่านั้น

ส่วนต่างของต้นตัวเมียทีให้ผลผลิต 20 ต้นคือคือความคุ้มค่าและผลกำไรที่เราจะได้รับ (ตัวเลขโดยประมาณ 20 ต้น x 100 kg x 500 บาท = 1 ล้าน ต่อปี >>คำนวณที่ต้นตัวเมียสมบูรณ์อายุ 5 ปีขึ้นไป)

เราควรใช้สัดส่วนต้นตัวผู้ : ตัวเมียเป็นเท่าใด จึงจะเป็นสัดส่วนที่พอดีเหมาะสมต่อความต้องการเกสรตัวผู้ในสวนอินทผลัม หลายๆ สวนในประเทศไทย ตัวเมียเป็นสาวก่อนวัย หรือพวกต้นวัยรุ่นตั้งท้อง คือ อายุ 2-3 ปีตั้งท้องแล้ว (ต่างประเทศจะให้ตั้งท้องหลัง 5 ปีไปแล้ว) ต้นตัวผู้ก็ยังเด็กเกสรก็ยังเล็ก โตไม่ทันกัน เทคโนโลยีการฉีดพ่นยังไม่ทันสมัย ผู้ฉีดพ่นยังมีความชำนาญน้อยอยู่ จึงของแนะนำอัตราส่วนโดยประมานไว้ที่ 1 ต้นตัวผู้ ต่อตัวเมีย 10 -15 ต้น  (เผื่อตายไว้ด้วย 10 % )
ต้นกล้าอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
5. ถ้าผสมเกสรคนละสายพันธุ์กันจะติดลูกไหม กลายพันธุ์ไหม
━━━━━━━━━━━
ถ้าเป็นเกสรตัวผู้ของพืชตระกูลปาล์ม (ไม่ใช่อินทผลัม) ทำให้ติดลูกได้แต่เมล็ดจะลีบผลไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าเป็นเกสรอินทผลัมตัวผู้แม้คนละสายพันธุ์ก็สามารถติดลูกได้

ส่วนเรื่องการกลายพันธุ์นั้นต้องเข้าใจก่อนว่าการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดจะกลายพันธุ์ทุกกรณีอยู่แล้ว เพราะเป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ต่างจากการขยายพันธุ์แบบแยกหน่อและเพาะเนื้อเยื่อ ที่เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ จะมี Gene เหมือนกับต้นแม่ (Homozygous) ซึ่งให้คุณภาพของผลผลิตเหมือนต้นแม่พันธุ์

5
ข้อนี้คือ ส่วนหนึ่งที่คนปลูกอินทผลัมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อควรรู้ ท่านสามารถดูข้อมูลเต็มๆ ได้จากคลิปนี้ครับ 
ดูVDO เพิ่มเติม

ขอขอบคุณ
I date palm  
20 หมู่ 16 ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
Tel : ID line 083-0539666 | 086-5633630 
เว็บไซต์ : www.idatepalm.com
Facebook : I daetepalm
แผนที่ https://goo.gl/2TSH24